
loading ..
การชำระหนี้
หลักเกณฑ์การชำระหนี้
กรณีทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย
1. เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษา หรือเลิกการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ถือว่าผู้กู้ยืมเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมคืนให้กับกองทุนตามระยะเวลา และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบของคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ผู้กู้ยืมที่กำลังศึกษาอยู่และไม่ได้กู้ยืมเงินติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี และไม่ได้แจ้งสถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาให้ธนาคารทราบ ถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้
3. ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกจะได้รับหนังสือจากธนาคาร เพื่อแจ้งเงินต้นทั้งหมด จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้งวดแรก ค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ รวมทั้งตารางการชำระหนี้ของแต่ละปี
4. ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้จะต้องชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ 5 กรกฎาคม ของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้
5. ผู้กู้ยืมจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นคงค้างของปีที่ 1 เป็นต้นไป โดยจะต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี และจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี นับจากวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก
6. ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดคือภายในวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งผู้กู้ยืมจะต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของเงินต้นที่ค้างชำระในงวดนั้น กรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือน และจะต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด กรณีค้างชำระเกิน 12 เดือน
กรณีทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
1. เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษา หรือเลิกการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ถือว่าผู้กู้ยืมเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมคืนให้กับกองทุนตามระยะเวลา และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบของคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ผู้กู้ยืมที่กำลังศึกษาอยู่และไม่ได้กู้ยืมเงินติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี และไม่ได้แจ้งสถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาให้ธนาคารทราบ ถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้
3. ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกจะได้รับหนังสือจากธนาคาร เพื่อแจ้งเงินต้นทั้งหมด จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้งวดแรก ค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ รวมทั้งตารางการชำระหนี้ของแต่ละปีให้ผู้กู้ยืมทราบ
4. ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้จะต้องชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ 5 กรกฎาคม ของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้
5. ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ ร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นคงค้างของปีที่ 1 เป็นต้นไป โดยจะต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี และจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี นับจากวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก
6. ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดคือภายในวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 12 ต่อปี ของเงินต้นที่ค้างชำระในงวดนั้น กรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือน และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด กรณีค้างชำระเกิน 12 เดือน
วิธีนับระยะเวลาครบกำหนดชำระหนี้ ตัวอย่าง ผู้กู้ยืมสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาในปีการศึกษา 2554 ผู้กู้ยืมจะครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกภายใน วันที่ 5 กรกฎาคม 2557
การสอบถามยอดหนี้
กรณีทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย
1. ทาง INTERNET http://www.studentloan.ktb.co.th/ โดยป้อนรหัสผ่านเป็นเลขบัตรประจำตัวประชาชน และวัน เดือน ปีเกิด(พ.ศ.) ของตนเอง
2. ทางศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลข 1551
3. ทางตู้ ATM ของ บมจ. ธนาคารกรุงไทย
4. ทาง HELP DESK หมายเลข 0-2208-8699
5. สาขา บมจ. ธนาคารกรุงไทย ทุกแห่ง
กรณีทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ผู้กู้ยืมสามารถสอบถามยอดหนี้ของตนได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. ผ่านระบบ e-studentloan ทาง www.studentloan.or.th เลือกข้อ 03 ขอดูยอดหนี้ผู้กู้
2. ทาง HELP DESK หมายเลข 02-650-6999 ต่อ 5154 - 5155
3. สาขาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกแห่ง
การชำระหนี้
กรณีทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย การชำระหนี้สามารถชำระได้ 5 ช่องทาง ดังนี้
1. ชำระโดยการหักบัญชีอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ของผู้กู้ยืม โดยจะต้องแจ้งความประสงค์กับธนาคารให้หักบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ตอนทำสัญญา กู้หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ผู้กู้ยืมเปิดใหม่ และผู้กู้จะต้องนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากฯ ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี (กรณีชำระหนี้เป็นรายปี) หรือก่อนวันที่ 5 ของทุกเดือน (กรณีชำระเป็นรายเดือน) ผู้กู้ยืมจะต้องนำสมุดบัญชีเงินฝากฯ ไปปรับรายการหักบัญชีที่สาขาและเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2. ชำระที่เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารมีสาขาบริการกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ ผู้กู้ยืม สามารถชำระหนี้ มากกว่าหรือเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระก็ได้ ผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงินเพื่อชำระหนี้กองทุนฯ ไว้เป็นหลักฐาน
3. ชำระที่เครื่องฝาก/ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM/ADM) ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ มากกว่าหรือเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระก็ได้ ผู้กู้ยืมจะได้รับ "ใบบันทึกรายการชำระหนี้ กยศ." ไว้เป็นหลักฐาน
4. ชำระทาง INTERNET http://www.ktb.co.th ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้มากกว่าหรือเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระก็ได้ โดยผู้กู้ต้องสมัคร KTB Online
5. ชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ (KTB ONLINE AT MOBILE) ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้มากกว่าหรือเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระก็ได้ โดยผู้กู้สามารถสมัครใช้บริการผ่านตู้ ATM, KTB ONLINE และสาขาของธนาคาร
กรณีทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย การชำระหนี้สามารถชำระได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
1. ชำระโดยการหักบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยของผู้กู้ยืม โดยต้องแจ้งความประสงค์กับธนาคารให้หักบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ตอนทำสัญญากู้ ยืมเงินเพื่อการศึกษา หรือเปิดบัญชีใหม่และผู้กู้ยืมเงินต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี
2. ชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้มากกว่าที่กำหนดชำระได้ โดยผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงินเพื่อชำระหนี้กองทุนฯ ไว้เป็นหลักฐาน
การชำระหนี้ก่อนกำหนด ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้คืนกองทุนทั้งหมดหรือบางส่วนในช่วงก่อนสำเร็จการศึกษา หรือช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีได้ โดยผู้กู้ยืมไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้
วิธีการชำระหนี้
กรณีทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย
1. การติดต่อในครั้งแรก
ผู้กู้ยืมทุกรายต้องติดต่อแสดงตนในการชำระหนี้ที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย สาขาใดก็ได้ที่ท่านสะดวก ดังนี้
1.1 กรอกหนังสือแสดงตนในการชำระหนี้ (กยศ.201)
1.2 หากผู้กู้ยืมประสงค์จะเปลี่ยนงวดการชำระหนี้จากรายปีเป็นรายเดือนสามารถทำได้ โดยให้ผู้กู้ยืมเงินแจ้งความประสงค์
1.3 แจ้งจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมประสงค์จะชำระหนี้งวดแรก พร้อมชำระหนี้ โดยผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงินเพื่อชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นหลักฐาน
* ในการชำระหนี้ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าธรรมเนียม ครั้งละ 10 บาท
2. การชำระหนี้ครั้งต่อไป
2.1 นำ เงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้กู้ที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้แก่ ธนาคารโดยต้องมีเงินบัญชีมากพอกับต้นเงินงวดที่ต้องชำระกับงวดที่ค้างชำระ (หากมี) ดอกเบี้ย และ เบี้ยปรับ (ถ้ามี) หรือ
2.2 ชำระที่เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
2.3 ชำระที่เครื่องฝาก/ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM/ADM) ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย
2.4 ชำระทาง INTERNET http://www.ktb.co.th ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย
2.5 ชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ (KTB ONLINE AT MOBILE)
กรณีทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
1. การติดต่อชำระหนี้ครั้งแรก
ผู้กู้ยืมทุกรายต้องติดต่อแสดงตนในการชำระหนี้ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขาใดก็ได้ที่ท่านสะดวก ดังนี้
1.1 กรอกหนังสือแสดงตนในการชำระหนี้ (กยศ.201)
1.2 หากผู้กู้ยืมประสงค์จะเปลี่ยนงวดการชำระหนี้จากรายปีเป็นรายเดือนสามารถทำได้ โดยให้ผู้กู้ยืมเงินแจ้งความประสงค์
1.3 แจ้งจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมประสงค์จะชำระหนี้งวดแรกพร้อมชำระหนี้ โดยผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงินเพื่อชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นหลักฐาน
* ในการชำระหนี้ผู้กู้ยืมจะต้องเสียค่าธรรมเนียม ครั้งละ 10 บาท
2. การชำระหนี้ครั้งต่อไป
2.1 นำ เงินฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้ที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้แก่ธนาคาร โดยต้องมีเงินในบัญชีมากพอกับต้นเงินงวดที่ต้องชำระกับงวดที่ค้างชำระ(หากมี ) และค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหี้
2.2 ชำระที่เคาน์เตอร์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
ตารางแสดงการคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ย ตารางตัวอย่างแสดงการผ่อนชำระของยอดเงินกู้ 100,000 บาท โดยแยกเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละปี
ปีที่ผ่อน |
ยอดเงินกู้ |
การผ่อนชำระ |
เงินต้นที่ |
ดอกเบี้ย |
ยอดเงินต้น |
*บวกค่าธรรมเนียม |
1 |
100,000 |
1.5 |
1,500 |
- |
1,500 |
10 |
2 |
98,500 |
2.5 |
2,500 |
985 |
3,485 |
10 |
3 |
96,000 |
3.0 |
3,000 |
960 |
3,485 |
10 |
4 |
93,000 |
3.5 |
3,500 |
930 |
4,430 |
10 |
5 |
89,500 |
4.0 |
4,000 |
895 |
4,895 |
10 |
6 |
85,500 |
4.5 |
4,500 |
855 |
5,355 |
10 |
7 |
81,500 |
5.0 |
5,000 |
810 |
5,810 |
10 |
8 |
76,000 |
6.0 |
6,000 |
760 |
6,760 |
10 |
9 |
70,000 |
7.0 |
7,000 |
700 |
7,700 |
10 |
10 |
63,000 |
8.0 |
8,000 |
630 |
8,630 |
10 |
11 |
55,000 |
9.0 |
9,000 |
550 |
9,550 |
10 |
12 |
46,000 |
10.0 |
10,000 |
460 |
10,460 |
10 |
13 |
36,000 |
11.0 |
11,000 |
360 |
11,360 |
10 |
14 |
25,000 |
12.0 |
12,000 |
250 |
12,250 |
10 |
15 |
13,000 |
13.0 |
13,000 |
130 |
13,130 |
10 |
|
|
100.0 |
100,000 |
9,275 |
109,275 |
|
สูตรการคำนวณดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ
หมายเหตุ : * หมายถึง จำนวนเงินกู้ยืมทั้งหมด หักด้วยจำนวนเงินต้นที่ชำระแล้ว
** นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ หรือวันที่ชำระหนี้ครั้งล่าสุดถึงวันชำระเงิน
หมายเหตุ : * หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องชำระในงวดที่ค้างชำระในแต่ละงวด
** อัตราเบี้ยปรับ 12% คิดจากเงินต้นงวดที่ค้างชำระไม่เกิน 12 เดือน และ 18% คิดจากเงินต้นงวดที่ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือน